การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

บุคคลจะเป็นพลเมืองดีของสังคมนั้น ต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติ และมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ สอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรมประเพณี และรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ รวมทั้งบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และได้ประสิทธิผลทั้งในส่วนตนและสังคม เมื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ย่อมเกิดความภาคภูมิใจและเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม ด้วยการเป็นพลเมืองดีที่เคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างผาสุข 



พลเมืองดี มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. หน้าที่ของพลเมืองดีของสังคม
หน้าที่เป็นภารกิจที่บุคคลต้องกระทำเพื่อสร้างคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เมื่อเกิดมาเป็นคนและค่าของคนอยู่ที่การปฏิบัติหน้าที่ โดยมีความรับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญ และต้องสอดคล้องกับบทบาททางสังคมที่แต่ละบุคคลดำรงอยู่ หน้าที่จึงเป็นภารกิจที่จะต้องกระทำเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่อย่างมีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งอาจเป็นหน้าที่ตามหลักศีลธรรม กฎหมาย หรือจิตสำนึกที่ถูกต้องเหมาะสม หน้าที่ที่เป็นภารกิจของพลเมืองดีโดยทั่วไปพึงปฏิบัติ มีดังนี้

การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรมการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรม เป็นหน้าที่ของพลเมืองดีพึงปฏิบัติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 
      1. จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม
จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม เป็นคำที่มักใช้ปะปนกัน หากจะพิจารณาความหมายของคำศัพท์ที่นำมาประกอบกันเป็นคำเหล่านี้ พอจะแยกได้ ดังนี้
จริย กริยาที่ควรประพฤติ
คุณ ดี มีประโยชน์ 
ศีล การประพฤติปฏิบัติดีตามปกติวิสัย
จริยธรรม
คุณธรรม
ศีลธรรม
หลักการของกิริยาที่ควร ประพฤติทำให้สังคมอยู่ด้วยกันโดยสงบ
หลักการที่ดีมีประโยชน์ที่สังคเห็นว่าเป็นความดีความงาม
ความเป็นปกติหรือการรักษากาย วาจา ใจให้เป็นปกติ ไม่ทำชั่วหรือเบียดเบียนผู้อื่น
เช่น - อยู่ในระเบียบวินัย - ตรงต่อเวลา
- มีความรับผิดชอบ - ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
- ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
เช่น - ซื่อสัตย์ - สุจริต
- มีเมตตา - เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
เช่น - ห้ามพูดเท็จ ให้พูดแต่ความจริง
- ห้ามเสพของมึนเมา ให้มีสติอยู่เสมอ
- ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ให้มีความเมตตากรุณา
 
สรุป 
จริยธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย 
คุณธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
ศีลธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย พร้อมกันนั้นก็สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น