สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ
หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิและเสรีภาพ แก่ประชาชนให้มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศมากขึ้น สิทธิและเสรีภาพโดยทั่วไปมักใช้รวม ๆ
ไปด้วยกัน แต่สิทธิที่เป็นเสรีภาพแตกต่างจากสิทธิประเภทอื่นคือ เสรีภาพนั้นคือการที่บุคคลสามารถกระทำในเรื่องหนึ่ง ๆ โดยไม่ต้องอาศัยให้รัฐดำเนินการใด ๆ ให้ เช่น เสรีภาพในการพูด ถ้าไม่เป็นใบ้ บุคคลย่อมสามารถพูดโดยไม่ต้องอาศัยให้รัฐทำสิ่งใดให้ และการที่รัฐธรรมนูญจะรับรองและคุ้มครองเสรีภาพในการพูดหรือไม่ ไม่ได้ทำให้บุคคลต้องพูดไม่ได้กลายเป็นใบ้ไปเพียงแต่ว่าอาจถูกรัฐห้ามไม่ให้พูดหรือแสดงความคิดเห็นได้ ส่วนสิทธิประเภทที่ไม่ใช่เสรีภาพ เป็นสิทธิที่บุคคลจะต้องอาศัยความช่วยเหลือและการดำเนินการบางประการจากรัฐ เช่น ในการใช้สิทธิเลือกตั้งต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้ง รับสมัครผู้ลงเลือกตั้ง จัดหน่วยเลือกตั้ง เป็นต้น หรือสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ ต้องมีการรับอุทธรณ์ หรือร้องเรียนเมื่อหน่วยงานราชการไม่ให้ข้อมูลข่างสารที่ประชาชนขอ และต้องมีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อประชาชนได้สิทธิมากขึ้นก็ควรปฏิบัติหน้าที่ตอบแทนแผ่นดินให้มากขึ้นเช่นกัน เพราะสิทธิกับหน้าที่เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินไปด้วยกันเสมอ
รัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิและเสรีภาพ แก่ประชาชนให้มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศมากขึ้น สิทธิและเสรีภาพโดยทั่วไปมักใช้รวม ๆ
ไปด้วยกัน แต่สิทธิที่เป็นเสรีภาพแตกต่างจากสิทธิประเภทอื่นคือ เสรีภาพนั้นคือการที่บุคคลสามารถกระทำในเรื่องหนึ่ง ๆ โดยไม่ต้องอาศัยให้รัฐดำเนินการใด ๆ ให้ เช่น เสรีภาพในการพูด ถ้าไม่เป็นใบ้ บุคคลย่อมสามารถพูดโดยไม่ต้องอาศัยให้รัฐทำสิ่งใดให้ และการที่รัฐธรรมนูญจะรับรองและคุ้มครองเสรีภาพในการพูดหรือไม่ ไม่ได้ทำให้บุคคลต้องพูดไม่ได้กลายเป็นใบ้ไปเพียงแต่ว่าอาจถูกรัฐห้ามไม่ให้พูดหรือแสดงความคิดเห็นได้ ส่วนสิทธิประเภทที่ไม่ใช่เสรีภาพ เป็นสิทธิที่บุคคลจะต้องอาศัยความช่วยเหลือและการดำเนินการบางประการจากรัฐ เช่น ในการใช้สิทธิเลือกตั้งต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้ง รับสมัครผู้ลงเลือกตั้ง จัดหน่วยเลือกตั้ง เป็นต้น หรือสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ ต้องมีการรับอุทธรณ์ หรือร้องเรียนเมื่อหน่วยงานราชการไม่ให้ข้อมูลข่างสารที่ประชาชนขอ และต้องมีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อประชาชนได้สิทธิมากขึ้นก็ควรปฏิบัติหน้าที่ตอบแทนแผ่นดินให้มากขึ้นเช่นกัน เพราะสิทธิกับหน้าที่เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินไปด้วยกันเสมอ
ความหมายของ สถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่
1. สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ลูก หลาน คนไทย เป็นต้น และสถานภาพทางสังคม เช่น ครู นักเรียน แพทย์ เป็นต้น
2. บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ
3. สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4. เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน เป็นต้น
5. หน้าที่ หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร เป็นต้น
1. สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ลูก หลาน คนไทย เป็นต้น และสถานภาพทางสังคม เช่น ครู นักเรียน แพทย์ เป็นต้น
2. บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ
3. สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4. เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน เป็นต้น
5. หน้าที่ หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น